Header

ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ (Dyslipidemia)

ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ

ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ (Dyslipidemia) เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับไขมันในเลือดต่างไปจากเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยเราสามารถแบ่งชนิดไขมันในเลือดแบบง่ายๆ ได้เป็น 2 ชนิด คือ

 



  • คอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL) หรือ ไขมันชนิดไม่ดี เป็นชนิดที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจหรือสมอง เพราะสามารถสะสมบริเวณผนังหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดแดงตีบและแข็ง

  • คอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นสูง (HDL) หรือ ไขมันชนิดดี มีส่วนช่วยในการขนส่งและกำจัดไขมันชนิดอันตรายออก และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

 

  • ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) เป็นไขมันประเภทหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดการสะสมที่ผนังหลอดเลือดได้เช่นกันหากมีปริมาณสูงมากๆ แม้ว่าจะมีผลต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจน้อยกว่าไขมันชนิดคอเลสเตอรอล แต่สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคตับอ่อนอักเสบได้

  • การรับประทานอาหาร เช่น ชอบรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวหรือไขมันทรานส์ เป็นส่วนประกอบ
  • สาเหตุมาจากโรคหรือภาวะความเจ็บป่วยอื่นๆ เช่น ภาวะน้ำหนักเกิน โรคเบาหวาน โรคไต ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism) โรคตับอักเสบ โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) หรือมาจากยาที่รับประทาน เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาไอโสเตรติโนอิน
    (Isotretinoin) ยาคุมกำเนิดบางชนิด ยาเคมีบำบัดบางชนิด ยาต้านไวรัสเอชไอวีบางชนิด หรือจากการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์
  • พันธุกรรม มีประวัติคนในครอบครัวมีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ

ชนิดไขมัน ระดับที่เหมาะสม (มิลลิกรัม/เดซิลิตร)

  • คอเลสเตอรอลรวม (Total cholesterol) < 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • คอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL) < 130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • สำหรับบุคคลทั่วไป< 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • สำหรับผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือผู้ป่วยเบาหวาน 
  • คอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นสูง (HDL) สำหรับผู้ชาย > 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร 
  • คอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นสูง (HDL) สำหรับผู้หญิง > 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ไตรกลีเซอไรด์ < 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

  • ลดน้ำหนัก เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำหนักเกิน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ และเพิ่มระดับคอเลสเตอรอล ชนิดความหนาแน่นสูง (HDL) หรือไขมันชนิดดี
  • ปรับการรับประทานอาหาร
  • ลดการรับประทานไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ และคอเลสเตอรอลจากอาหาร เช่น ดื่มนมขาดมันเนยหรือพร่องมันเนยทดแทน ลดปริมาณเนื้อแดงติดมัน หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารทะเลพวกปลาหมึก หอยนางรม กุ้ง ลดอาหารประเภททอดหรือผัด ลดการใช้เนยเทียมหรือมาการีน เลือกใช้น้ำมันที่มีไขมันไม่อิ่มตัวสูง ได้แก่ น้ำมันจากถั่วเหลือง ดอกทานตะวัน มะกอก ข้าวโพด รำข้าว สำหรับผู้ที่มีภาวะไตรกลีเซอไรด์สูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลสูง
  • เพิ่มสัดส่วนของผักหรือผลไม้ที่มีใยอาหารสูง และเลือกรับประทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต
  • งดสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
  • การใช้ยาช่วยลดไขมัน โดยใช้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอตามคำแนะนำของแพทย์
ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกหัวใจและหลอดเลือด

แผนกโรคหัวใจและหลอดเลือด

สถานที่

ชั้น1

เวลาทำการ

จ,พฤ,ศ : 17.00-20.00 ,อ,พ : 17.00-19.00 ส,อา : 08.00-17.00

เบอร์ติดต่อ

(056) 000 111 ต่อ 510211

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)

โรคที่พบได้บ่อย โดยจะตรวจพบได้จากการวัดความดันโลหิต ได้ในระดับที่สูงกว่าปกติ เรื้อนังอยู่เป็นเวลานาน

โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)

โรคที่พบได้บ่อย โดยจะตรวจพบได้จากการวัดความดันโลหิต ได้ในระดับที่สูงกว่าปกติ เรื้อนังอยู่เป็นเวลานาน

โรค NCDs คืออะไร ?

แม้โรค NCDs จะไม่ใช่โรคติดต่อ แต่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับ 1

โรค NCDs คืออะไร ?

แม้โรค NCDs จะไม่ใช่โรคติดต่อ แต่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับ 1